สายพานลำเลียงและรถAGv
สายพานลำเลียง
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor
System) คือ
อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุซึ่งระบบสายพานลำเลียงนั้นจะทำหน้าที่ในการย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยโรงงานอุตสาหกรรมสายการผลิตส่วนมากจะต้องอาศัยระบบสายพานลำเลียงในขั้นตอนกระบวนการผลิต
ระบบสายพานลำเลียงมีกี่ประเภท
หากกล่าวถึงระบบสายพานลำเลียงจะถูกแบ่งออกเป็น 4
ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก
เป็นระบบสายพานลำเลียงชิ้นงานในแนวลาดเอียงสำหรับไลน์การผลิตที่มีความต่างระดับ
ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกนี้ คือ
สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้
โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง
ซึ่งความลาดเอียงจะเริ่มที่ 10 องศา และไม่เกิน 45
องศา สำหรับสายพานลำเลียงแบบพลาสติกเหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทอาหาร บรรจุภัณฑ์
ยาง เป็นต้น
2.ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ
เป็นสายพานลำเลียงที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึงและลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง
อาหาร เป็นต้น
3.ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับชิ้นงานน้ำหนักเบาซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพีวีซี
คือ สามารถทนความร้อนและมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร
สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
4.ระบบสายพานลำเลียงสำหรับเครื่องตรวจโลหะ
เป็นระบบสายพานลำเลียงที่ลำเลียงวัสดุเข้าเครื่องตรวจโลหะโดยมีระบบสายพานลำเลียง 2
แบบ คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกและสายพานลำเลียงแบบ PVC สายพาน
Chip Conveyor เป็นอุปกรณ์ลำเลียงอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ลำเลียงวัสดุเศษชิ้นงาน
เช่น เศษโลหะจากงานเจาะ งานตัด งานเจียร เป็นต้น
ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
และนิยมใช้มากในเครื่องจักร ระบบ cnc เนื่องจากราคาไม่แพง
และสามารถออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานตามต้องการได้
สายพานลำเลียงในวงการอุตสาหกรรมนั้นใช้กับระบบทั้ง
แนวนอน แนวลาดขึ้น แนวลาดลง หรือแนวตั้ง
ซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งภายใต้การควบคุมอย่างเป็นจังหวะ
สายพาน Imperial Pitch – XL, L, H, H-HF
และ XH
สายพาน T Pitch – T2.5, T5, T10, T10-HF
และ T20
สายพานลำเลียงอาหาร – CenterClean™,
PosiClean®, GMT3™
สายพานลำเลียงแบบแบน – WF12
การใช้งานอื่นๆ
อุปกรณ์บรรจุภัณฑ์
Low Profile Conveyors
การเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนเล็กๆ
เครื่องจักรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขอนามัย
การลำเลียงด้วยความเร็วสูง
Rapid Indexing
Vacuum Applications
Automated Process Conveyors
Bulk Product Conveying
การลำเลียงอาหารและเบเกอรี่
กระบวนการผลิตแก้ว
อุปกรณ์การแพทย์
การผลิตกระดาษและกระดาษลูกฟูก
ยา
รถ AGV
หนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ
มีทั้งแบบ รถ AGV จากแพลนเนท – ระบบขนส่ง
รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติแบบไร้คนขับ โดยใช้แถบแม่เหล็ก กล้อง หรือเลเซอร์
เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถ AGV สามารถใช้ได้ทั้งในงานคลังสินค้า
โรงงานอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ การขนส่งลำเลียงต่าง ๆ
Automated Guided Vehicle หรือ AGV คือหุ่นยนต์ที่เป็นพาหนะ
หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น “รถ” ที่ใช้ขนส่งภายในอาคารแบบไร้คนขับ
ที่ช่วยขนย้ายสินค้า และอุปกรณ์ ทั้งภายในคลังสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม
ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดดเด่นด้านการรองรับน้ำหนัก
และการลำเลียงอย่างถูกต้องและปลอดภัย แม้ไร้แสงสว่าง หรือทำงานร่วมกับมนุษย์
รถ AGV
ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในคลังสินค้าจนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อน ในแต่ละวันมีการนำเข้าและส่งออกสินค้าจำนวนมาก
อีกทั้งยังมีประเภทของสินค้าที่หลากหลาย การจัดการในเรื่อง location การหยิบสินค้าตาม
Order การเติมสินค้า จัดการ stock หากใช้คนเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดความล่าช้าและโอกาสผิดพลาดสูง
ในตลาด E-Commerce ผู้นำด้านโลจิสติกส์ระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Amazon
หรือ Alibaba ได้นำรถ AGV มาใช้ในการบริหารจัดการสินค้าในระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ
(Intelligent Warehouse) เป็นจำนวนมาก
การควบคุมหลักของ รถ AGV เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบควบคุมการผลิตของ
Mercedes-Benz ด้วยวิธีนี้ AGV จะปรับให้เข้ากับการวางแผนการผลิตระดับสูงโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงระบบคำแนะนำของ
AGV ในกรณีที่หยุดพักการผลิตเช่นในวันหยุดราชการหรือวันหยุดยาว
AGV จะเข้าสู่โหมดสแตนด์บายโดยอัตโนมัติซึ่งอาจใช้งานได้นานถึง
92 ชั่วโมง
หากการผลิตเริ่มต้นใหม่ภายในช่วงเวลานี้ยานพาหนะจะกลับมาดำเนินกิจกรรมโดยอัตโนมัติ
ระบบคำแนะนำของ AGV ยังช่วยให้มั่นใจได้ถึงการจัดการการชาร์จอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์
AGV จะขับเคลื่อนไปยังสถานีชาร์จโดยอัตโนมัติและพร้อมสำหรับการใช้งานตลอด
24 ชั่วโมงทุกวัน อินเทอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI)
ช่วยให้สามารถวางแผนและจำลองเส้นทางใหม่ได้อย่างง่ายดาย
การเชื่อมโยงระบบซึ่งเกิดขึ้นในระดับเดียวกับระบบการผลิต
ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานการผลิตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
ตัวอย่างเช่นการรวมซีรีส์โมเดลใหม่
ข้อดีอีกประการหนึ่งของการนำทางแบบกริดแม่เหล็กอิสระแบบเหนี่ยวนำ:
ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงของงานโครงสร้าง เซ็นเซอร์เชิงแสงอาจถูกปนเปื้อนจากฝุ่นจากการเชื่อม
เป็นต้น ระบบนำทางจะไม่ได้รับผลกระทบและทนทาน
ซึ่งทำให้ระบบดังกล่าวทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือเป็นพิเศษ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น